วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความหมายขององค์การ

        🍄🍄🍄องค์การ (Organization) 
                   
  เป็นคำนิยามของการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบ หรือบางที่ให้คำจำกัดความว่า เป็นการจัดการที่มีการร่วมมือและประสานงานกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างที่ตั้งไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ
การจะทำความเข้าใจคำว่าองค์การนั้น ถ้าดูที่การแบ่งประเภทขององค์การจะทำให้เข้าใจดีขึ้น เช่น
องค์การทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย  สถาบันศาสนา วัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม สถาบัน กลุ่ม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชน์ในระดับสังคม
1. องค์การทางราชการ ทุกระบบที่เป็นส่วนราชการ ระดับกระทรวง ทบวง กรม
2. องค์การเอกชน เช่น บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ ลักษณะขององค์การทางธุรกิจนั้น แบ่งได้เป็น
      2.1 องค์การที่มีเจ้าของคนเดียวจัดระบบการทำงานโดยมีลูกน้องมาร่วมมือกันทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ และในปัจจุบันธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการตลาดแบบออนไลน์
     2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในองค์การประเภทนี้จะต้องร่วมรับผิดชอบในองค์การร่วมกันในทุกเรื่องทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
     2.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด องค์การธุรกิจประเภทนี้มีความต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ เฉพาะหุ้นส่วนเฉพาะบางคนเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบไม่จำกัด ผู้ถือหุ้นนอกนั้นรับผิดชอบ “จำกัด” ตามจำนวนหุ้นที่ตัวเองถือครอง
     2.4 บริษัทจำกัด เป็นองค์การทางธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้น แล้วแบ่งทุนเป็นหุ้น  ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินหุ้นที่ตนถือเท่านั้น
🍄🍄🍄การจัดโครงสร้างองค์การ
     ในการทํางานในองค์การที่ต้องมีการตัดสินใจว่าจะรายงานเรื่องราวต่างๆ กับใคร วิธีหนึ่งของการจัดโครงสร้างองค์การและการสร้างสรรค์องค์การ คือ การจัดผังแสดงโครงสร้างองค์การ(Organization Chart) ซึ่งเป็นการจัดผังที่แสดงตําแหน่งต่างๆ ทั้งหมดในองค์การและความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่แต่ละหน่วยงาน รวมทั้งแสดงตําแหน่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนอย่างมีระบบเพื่อง่ายแก่การบริหาร

      🍄🍄🍄 รูปแบบของโครงสร้างองค์การ
โครงสร้างองค์การเป็นแบบแผนที่กําหนดขอบเขตของงานและความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่
1. โครงสร้างองค์การระบบราชการ (Bureaucratic Structure)   เป็นลักษณะโครงสร้างองค์การซึ่งมีความซับซ้อนสูง มีความเป็นทางการสูง เป็นระบบการจัดการโดยถือเกณฑ์โครงสร้างงานที่เป็นทางการของอํานาจหน้าที่ซึ่งกําหนดไว้อย่างเคร่งครัดมีการติดตามการทํางานอย่างรัดกุม ทําให้โครงสร้างองค์การแบบนี้บางครั้งขาดความยืดหยุ่นเพราะมีขั้นตอนมากและแจทําให้เกิดความล่าช้าในการทํางาน
2. โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต (Organic Structure) เป็นโครงสร้างองค์การที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีกฎเกณฑ์และข้อบังคับเล็กน้อย มีความเป็นทางการน้อยกว่าระบบราชการสามารถยืดหยุ่นได้ มีการส่งเสริมการทํางานเป็นทีมและมีการกระจายอํานาจการตัดสินใจให้แก่พนักงานผู้ปฏิบัติตาม
3. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์(Matrix Structure) มีการพัฒนาแรกเริ่มจากการมีเป้าหมายของความสําเร็จตามโครงการโครงสร้างของงานในโครงการมีการมอบหมายให้กับผู้ชํานาญการจากแผนกงานที่มีหน้าที่ไปปฏิบัติในหนึ่งโครงการหรือมากกว่าหนึ่งโครงการ
4. โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก (Line or Hierarchy OrganizationStructure) คือ แต่ละหน่วยงานมีการกําหนดการสั่งการและการควบคุมผ่านสายบังคับบัญชาตามลําดับชั้นจากผู้บริหารระดับสูงไปยัผู้ใต้บังคับบัญชาอันดับรองลงมาซึ่งเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยจะรับคําสั่งคําแนะนําและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาคนเดียว
5. โครงสร้างองค์กรแบบงานหลักและงานที่ปรึกษา (Line andStaff Organization Structure)  การจัดโครงสร้างขององค์กรนี้จะมีหน่วยงานที่ปรึกษาเข้ามา เพื่อช่วยศึกษาค้นคว้าให้คําแนะนําให้บริการและแก้ปัญหาต่างๆ ให้หน่วยงานหลัก หน่วยงานที่ปรึกษานี้จะเป็ นอิสระขึ้นตรงกับผู้บริหารในฝ่ายหรือแผนกนั้นๆ
6. การจัดองค์การตามโครงงาน (Project Structures) คือโครงสร้างที่เกิดขึ้นเมื่อมีโครงงานหรือปัญหาใหม่เข้ามา ผู้บริหารจะตั้งทีมงานขึ้นเป็ นกลุ่มเพื่อจัดการกับโครงงานดังกล่าวและเมื่อโครงการนั่นสิ้นสุดหน่วยงานนั้นๆจะถูกยุบลงไปด้วย

       เพราะฉะนั้น การที่หลายคนมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วทำภารกิจอะไรสักอย่างร่วมกัน ยังไม่ถือว่าเป็นองค์กร เพราะ “องค์กร” จะต้องเป็นส่วนย่อยของ “องค์การ” และมีหน้าที่เฉพาะของตน
“องค์การ” มีหน้าที่เอา “องค์กร” ต่างๆ ที่มีหน้าที่แตกต่างกันนั้นมารวมเข้าด้วยกัน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ ให้สามารถดำเนินงานตามหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบ คล้ายๆ กับเครื่องจักรนาฬิกาแต่ละชิ้นที่มีหน้าที่ต่างๆ เหมือนกับ “องค์กร” และเมื่อนำเอาเครื่องจักรแต่ละชิ้นมาประกอบกัน มันก็จะทำให้นาฬิกานั้นเดินไปได้อย่างมีระเบียบเป็น “องค์การ” และหน่วยงานที่จะถือว่าเป็น “องค์การ” ได้ จะต้องมีการจัดระเบียบงานถูกต้องตามกระบวนการดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น
       ซึ่งทุกวันนี้มีการนำคำว่า “องค์กร” ไปใช้ในความหมายของ “องค์การ” อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น บริษัท โรงงาน สำนักงาน ส่วนราชการ มูลนิธิ วัด ฯลฯ แต่ความจริงตามแนวความคิดทางวิชาการ โดยเฉพาะทางสังคมวิทยา องค์การจะมีความหมายที่กว้างกว่านั้น แต่ในด้านสังคมวิทยาถือว่า องค์การมีอยู่ 2 ระดับคือ
ระดับต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (primary organization)
ระดับสองหรือองค์การทุติยภูมิ (secondary organization)
องค์การระดับต้นเกิดขึ้นในสังคมโดยอัตโนมัติ เช่นครอบครัว ประชาคม กล่มมิตรสหาย เครือญาติ ฯลฯ ซึ่งมีแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกแบบส่วนตัว หรือไม่เป็นทางการ (informal หรือ personal) ใครที่ไม่คุ้นกับแนวความคิดสังคมวิทยา ก็จะไม่เรียกสถาบันเหล่านี้ว่าเป็น “องค์การ” เพราะเข้าใจหรือรู้จักองค์การในความหมายขององค์การระดับสองเท่านั้น
       หากมองจากมุมของประวัติศาสตร์ สถาบันสังคมโบราณอาจจะมีแต่สังคมชั้นต้นเป็นส่วนใหญ่ ตามข้อเท็จจริงแล้ว หากไม่นับวิวัฒนาการขององค์การในกองทัพ องค์การระดับสองโดยเฉพาะองค์การธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่แยกตัวออกไปจากธุรกิจครอบครัวเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน หลังจากสังคมนั้นๆ มีการปฏิวัติหรือพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มขึ้นในสังคมสมัยใหม่ หรือในศตวรรษที่ 18 นี้เอง และต้องตามให้ทันด้วยว่า องค์การสมัยใหม่มีองค์ประกอบมากกว่ากลุ่มคนที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น เช่น เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี ฯลฯ จะเห็นได้ว่า หากเราจะพูดหรือเขียนภาษาไทยถึงคำว่า “organization” เราต้องพูดและเขียน “องค์การ” ไม่ใช่ “องค์กร”



🍄🍄🍄ลักษณะขององค์การ
1. เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
-  กำหนดงานให้ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ สมาชิกในองค์การจะได้รับมอบหมายงานให้ทำงานตามความรู้ ความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล
-  มีสายบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงมา มีสายการบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับระดับสูงสุดลงมาถึงระดับล่างสุดขององค์การ
-  มีวัตถุประสงค์ องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เพื่อสมาชิกขององค์การจะได้ยึดถือเป็นแนวทางในการทำงาน
2. เป็นกลุ่มบุคคล
กลุ่มบุคคล เกิดจากการรวมกลุ่มที่ถาวรเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันขนาดของกลุ่มเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการที่ทำ
3. เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
    เนื่องจากองค์การจะมีปัจจัยต่างๆ ที่จะต้องใช้ในการจัดการ เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงคนด้วย ดังนั้น เพื่อให้มีการใช้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีความชัดเจนในการจัดองค์การ
4. เป็นกระบวนการ
เนื่องจากองค์การมีงานหรือกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง
5. เป็นระบบ

ระบบเป็นการรวมสิ่งต่างๆ ในองค์การที่มีลักษณะซํบซ้อนให้เข้าลำดับประสานกันเป็นอันเดียว ประกอบด้วย 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ทรัพยากรที่ใช้ (Resource Input) กระบวนการแปรรูป (Tranformation Process)และผลผลิต (Product Output)

🍄🍄🍄ขอขอบคุณ      http://www.teacher.ssru.ac.th/sawitree_ch/file.php/1/COC1101/powerpoint/OGC_C1.pdf
                        https://www.im2market.com/2016/05/16/3261

🍄🍄🍄สืบค้นเมื่อวันที่ 1  พฤศจิกายน 2560

การจัดการงานอาชีพ

🎆การจัดการงานอาชีพ🎆 🎇ความหมายของอาชีพ           อาชีพ  คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให...